การจัดอันดับหน้าเว็บไซต์ของกูเกิล

การจัดอันดับหน้าเว็บไซต์ของกูเกิล

คนส่วนน้อยที่จะคุ้นเคยกับเรื่อง seo และไม่เคยรู้ตักรู้จักกับ อัลกอริทึมของกูเกิ้ล นับว่าเป็นปัจจัยหลักที่ google ใช้ในการจัดอันดับ ไม่ว่าจะเป็น PR (pagerank), hilltop, trustrank, caffeine, panda, penguin, hummingbird และอื่น ๆ แต่สิ่งที่บางคนอาจไม่รู้คือ google ใช้ ปัจจัยมากกว่า 200 ปัจจัยในการจัดอันดับค้นหาเว็บไซต์ มีอะไรบ้างเรามาดูกัน
  1. อายุของโดเมนเนม โดเมนเนมที่มีอายุนานกกว่าจะได้รับการจัดอันดับที่ดีกว่า คือ การเริ่มต้นก่อตั้งจดทะเบียนชื่อเว็บไซต์
  2. keyword ในชื่อโดเมนเนม โดเมนเนมที่มี keyword ในชื่อโดเมน จะได้เปรียบในการจัดอันดับในคำนั้น ๆ
  3. keyword ในชื่อโดเมนโดยเป็นคำแรกของโดเมน อย่างเช่น ขายเสื้อผู้ชาย.com ก็จะมีการจัดอันดับที่ดีในคำว่า “ขายเสื้อ” มากกว่าโดเมนที่ไม่มีคำนี้ในชื่อ หรือมีคำนี้แต่ไม่ใช่คำแรกของชื่อโดเมน
  4. การจดอายุโดเมนนาน ส่งผลต่อการจัดอันดับด้วย เนื่องจาก google มองว่าโดเมนที่ตั้งใจทำนั้นจะจ่ายเงินค่าโดเมนล่วงหน้าหลาย ๆ ปี ในขณะที่เว็บที่ทำแบบฉาบฉวยจะจดอายุเพียงปีสองปี ดังนั้นอายุที่เหลืออยู่ของโดเมนจะช่วยส่งผลกับอันดับด้วย
  5. keyword ใน subdomain จะช่วยส่งผลที่ดีต่อการจัดอันดับเช่นกัน
  6. ประวัติของโดเมนนั้น ๆ การที่โดเมนมีการเปลี่ยนชื่อเจ้าของ หรือมีการหมดอายุแต่ไม่มีการต่อหลาย ๆ ครั้ง เป็นสิ่งบอก google ว่าโดเมนนี้ไม่ใช่โดเมนเก่า แต่เป็นโดเมนที่เริ่มทำใหม่ google อาจเริ่มนับค่าใหม่กับโดเมนประเภทนี้
  7. โดเมนที่ชื่อโดเมนตรงกับ keyword เลย แน่นอนว่าโดเมนประเภทนี้จะทำอันดับได้ดีในคำนั้น ๆ แต่ถ้าเว็บนั้นถูกสร้างโดยไม่ใช่เว็บคุณภาพ google ก็จะลดอันดับโดเมนพวกนี้ลง
  8. การเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวเจ้าของโดเมน whois การจดโดเมนเราสามารถเลือกจดแบบ private whois ซึ่งจะไม่เปิดเผยข้อมูลของเรา สิ่งนี้ google มองว่าถ้าเว็บที่ถูกต้อง ย่อมไม่กลัวการเปิดเผยข้อมูล การที่เว็บซ่อนเร้นอะไรบางอย่างย่อมไม่ใช่เรื่องดี
  9. การลงโทษ โดยใช้ข้อมูล whois ถ้ามีเว็บใด ๆ ที่ google ลงโทษ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง spam หรือการฝ่าฝืนข้อห้ามอื่น ๆ ของ google เว็บไซต์อื่นที่ข้อมูล whois เป็นเจ้าของเดียวกัน อาจโดนผลลบตามไปด้วย
  10. นามสกุลโดเมน เช่น .th อาจช่วยส่งผลให้เว็บนั้นทำอันดับใน google.co.th ได้ดี เหมือนกับเว็บไซต์ ประเทศอื่น ๆ ที่จะทำอันดับในประเทศนั้น ๆ ได้ดี แต่สิ่งนี้อาจส่งผลการจัดอันดับใน google.com ที่แย่กว่าปกติ
  11. keyword ในหัวข้อเว็บ ส่งผลกับการทำ seo ในคำนั้น ๆ
  12. การใส่ keyword ในคำแรกของหัวข้อเว็บ
  13. keyword ใน meta description
  14. การใส่คำนั้น ๆ ที่ต้องการลงใน H1 tag
  15. การใช้คำนั้น ๆ หลาย ๆ ครั้งในบทความ จะบอกว่าบทความนี้เกี่ยวข้องกับคำนั้น ๆ ส่งผลต่อการที่ search engine จะนำไปจัดอันดับ
  16. จำนวนคำของบทความ บทความที่มีจำนวนคำมากกว่าย่อมส่งผลดีกว่าบทความที่มีจำนวนข้อความสั้น ๆ
  17. ความหนาแน่นของคำที่ต้องการในบทความส่งผลต่อการจัดอันดับ แต่การใช้คำมากเกินไป ย่อมส่งผลเสียเช่นกัน
  18. LSI (Latent semantic indexing keyword) ในบทความไม่ควรเน้นแต่คำที่ต้องการ แต่ควรเน้นคำที่เป็น LSI ด้วย คือ keyword ที่ใกล้เคียงหรือเกี่ยวข้องกัน
  19. LSI ในหัวข้อ และ meta description
  20. ความเร็วในการโหลดหน้าเว็บ ช่วยส่งผลต่อการจัดอันดับ ยิ่งไฟล์เล็ก โหลดได้เร็ว จะยิ่งมีผลดี
  21. บทความที่ซ้ำกัน จะส่งผลเสียต่อการจัดอันดับ
  22. การใช้ rel=canonical อย่างเหมาะสม จะทำให้ google รู้ว่าเราไม่ได้ตั้งใจทำบทความซ้ำกัน
  23. ความเร็วในการโหลดหน้าเว็บผ่าน browser chrome เป็นที่รู้กันว่า chrome เป็นของ google อะไรที่ chrome ไม่ปลื้ม google ก็ไม่ชอบตามไปด้วย
  24. การทำ seo ให้กับรูปภาพ ไม่ว่าจะเป็นชื่อรูป alt text, title, description, caption ของรูป
  25. ความสดใหม่ของบทความ เป็นสิ่งที่ caffeine algorithm ใช้ในการจัดอันดับ เพราะ google เชื่อว่า บทความที่เขียนไว้นาน ๆ อาจล้าสมัยไปแล้ว จึงสร้าง caffeine ขึ้นมาเพื่อให้บทความที่ใหม่กว่าซึ่งอาจจะมีข้อความที่มีข้อมูลที่ทันสมัยกว่า ได้อันดับที่ดีกว่า
  26. การแก้ไขบทความ ทำให้ google รู้ว่าบทความนี้เปลี่ยนไป มีความสดใหม่กว่าบทความเก่า จะได้อันดับที่ดีขึ้น แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นควรเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นการเขียนข้อความใหม่เพิ่มเข้ามา มากกว่าการเปลี่ยนแค่คำไม่กี่คำ
  27. ความถี่ในการแก้ไขบทความ ยิ่งบทความเปลี่ยนบ่อย google ยิ่งรับรู้ถึงความสดใหม่ของบทความ
  28. การมีคำที่ต้องการปรากฎอยู่ใน คำ 100 คำแรกจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้การจัดอันดับของ google ให้ดีขึ้น
  29. keyword ที่ต้องการใน H2, H3 tag
  30. การเรียงคำที่ถูกต้องอย่างเช่น ทำบุญวันเกิด จะส่งผลให้อันดับคำว่า ทำบุญวันเกิด ดีกว่าการใช้ วันเกิดทำบุญ
  31. การทำ Link ออกไปยังเว็บคุณภาพ
  32. การทำ Link ออกไปเว็บอื่น อย่างเช่นถ้าเว็บของคุณเกี่ยวกับกระต่าย การทำ link ไปยังเว็บตุ๊กตาจากหน้านั้น อาจจะเป็นการบอก google ว่าหน้าเว็บนั้นเกี่ยวกับตุ๊กตากระต่าย ไม่ใช่แค่กระต่าย
  33. การใช้ไวยากรณ์ที่ถูกต้อง สำหรับภาษาอังกฤษ การใช้บทความมั่ว ๆ ไวยากรณ์ไม่ถูกต้องจะส่งผลเสีย แต่ไม่แน่ใจว่า google เก่งขนาดรู้ไวยากรณ์ภาษาไทยและภาษาอื่น ๆ ได้หรือไม่ แต่การใช้อย่างถูกต้องไว้ก่อนก็เป็นสิ่งดี
  34. บทความที่เขียนขึ้นใหม่ย่อมทำอันดับได้ดีกว่าบทความที่คัดลอกมา
  35. บทความเสริมที่เป็นประโยชน์จะช่วยให้เพิ่มคุณภาพให้กับหน้าเว็บ ซึ่งช่วยในการจัดอันดับของ google ดังนั้นการทำเว็บควรนึกถึงคนอ่านเว็บเราว่าจะได้ประโยชน์อะไรบ้างจากบทความของเรา
  36. จำนวนลิงก์ออกที่ไม่มากเกินไป
  37. การใส่รูป วีดีโอหรือไฟล์สื่ออื่น ๆ ในบทความจะช่วยเรื่องคุณภาพของบทความ
  38. จำนวนของลิงก์ภายในเว็บเดียวกันที่ลิงก์มาหาหน้านั้น
  39. คุณภาพของลิงก์ภายในเว็บเดียวกัน ความเกี่ยวข้องของเนื้อหาหน้าอื่นที่ลิงก์มาหา และ pagerank ของหน้านั้น ๆ
  40. การที่มีลิงก์ออกไปยังหน้าเว็บที่ไม่มีอยู่ ส่งผลเสียต่อการจัดอันดับของเว็บ การที่เว็บมี link เสียจำนวนมากหมายถึง เว็บนั้นที่ถูกทิ้ง ไม่เอาใจใส่
  41. ระดับการอ่าน เป็นสิ่งหนึ่งที่ google ใช้ในการจัดอันดับ แบ่งออกเป็นสามขั้น ขั้นต้น ขั้นกลาง ขั้นสูง แล้วแค่ระดับของคำศัพท์ที่ใช้ในบทความ ยิ่งเว็บเราจัดอยู่ในระดับสูงก็จะยิ่งได้อันดับดี แต่การจัดอันดับภาษาไทยคงไม่เหมือนภาษาอังกฤษ
  42. ลิงก์ affiliate การมี link ประเภทนี้ในเว็บไซต์ก็ไม่ใช่ผลเสียอะไรตามใดที่คุณไม่ใส่มัน “มาก”เกินพอดี ซึ่งอาจจะโดน google เพ่งเล็งได้ว่าเป็นเว็บ “thin affiliate site” คือเว็บที่มีเนื้อหาน้อยเกินไป แต่มี link affiliate มากเกินไป
  43. การใส่ tag html ผิดพลาด หรือการ verify wc3 แล้วมีความผิดพลาดจำนวนมาก เป็นสัญญาณว่าเว็บนั้นไม่ได้คุณภาพ แต่บางคนกลับคิดตรงข้ามเรื่องการ verify wc3 ว่าอาจให้ผลตรงข้าม
  44. หน้าเว็บของโดเมนที่มี authority มากกว่าย่อมอันดับดีกว่าเว็บที่มีค่าน้อยกว่า
  45. pagerank ของหน้านั้น PR ที่สูงกว่าย่อมได้อันดับดีกว่า
  46. ความยาวของ URL URL ที่ยาวมาก ๆ อาจเป็นผลเสียกับการมองเห็นของผลลัพท์การค้นหา
  47. ที่อยู่ URL หรือ URL path ยิ่งหน้านั้นอยู่ใกล้กับหน้าแรกเว็บก็ย่อมได้ authority มากกว่าหน้าอื่น
  48. แม้ว่ายังไม่มีการพิสูจน์ แต่ google เองมีสิทธิบัตรที่พูดถึงระบบที่อนุญาตให้ผู้แก้ไขที่เป็นคนจริง ๆ สามารถแก้ไขบางอย่างที่อาจส่งผลกับการจัดอันดับได้
  49. หน้าหมวดหมู่ เป็นสิ่งที่รวบรวมหน้าที่มีเนื้อหาคล้ายกันเข้าด้วยกัน ซึ่งจะทำให้อันดับหน้าที่อยู่ในหน้าหมวดหมู่ดีขึ้นในคำนั้น
  50. ป้ายกำกับ เช่น wordpress tag การเชื่อมโยงบทความที่คล้ายกันเข้าด้วยกัน ซึ่ง wordpress tag ตอบสนองสิ่งนี้เป็นอย่างดี
  51. มี keyword ใน url
  52. หมวดหมู่ใน URL ซึ่งอ่านได้โดย google อาจจะช่วยให้ google จัดอันดับและแสดงได้ดีขึ้นว่าหน้าเว็บเราเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร
  53. การอ้างอิงและแหล่งที่มา หน้าเว็บที่มีการอ้างอิง และแหล่งที่มา อาจบอกถึงคุณภาพของหน้าเว็บนั้น ซึ่ง google เองก็ยังบอกว่าผู้อ่านนั้นควรจะดูว่าบทความมีแหล่งที่มาหรือไม่
  54. การใช้ bullets และตัวเลข จะช่วยแบ่งบทความของคุณให้ผู้อ่าน อ่านง่ายขึ้น ทำให้บทความเป็นมิตรกับผู้อ่านมากขึ้น google ชอบบทความที่มี bullets และตัวเลข
  55. ลำดับหน้าในไฟล์ sitemap สิ่งนี้อาจส่งผลต่อการจัดอันดับเช่นเดียวกัน
  56. การมีลิงก์ออกมากเกินไป ส่งผลเสียต่อการจัดการอันดับของเว็บ
  57. จำนวนคำอื่น ๆ ในหน้านั้นในการจัดอันดับ ถ้ามีคำอื่น ๆ อีกหลายคำที่หน้านั้นเน้น ก็ส่งผลให้ google มองว่าเป็นหน้าคุณภาพ
  58. อายุของหน้านั้น แม้ว่า google จะชอบเนื้อหาที่สดใหม่ หน้าเก่า ๆ ที่อัปเดตบ่อย ๆ ก็ให้ผลดีกว่าหน้าเว็บใหม่ ๆ
  59. หน้าตาเว็บที่เป็นมิตรกับผู้อ่านทำให้ google มองว่าเป็นเว็บคุณภาพ
  60. parked domain google ให้ความสำคัญกับ parked domain น้อยลงตั้งแต่การอัปเดตเมื่อ Dec 2011
  61. บทความที่มีประโยชน์
  62. ทความที่มีสาระและไม่ซ้ำใคร google นั้นลงโทษเว็บที่มีบทความซ้ำ ๆ หรือบทความน้อยแต่มี link ออกมากเกินไป
  63. หน้าติดต่อเรา เป็นสิ่งหนึ่งที่เว็บควรมี เพราะ google ชอบเว็บที่มีข้อมูลให้ติดต่อได้ และถ้าข้อมูลตรงกับ whois ก็อาจช่วยมากขึ้น
  64. trustrank หรือ domain trust จำนวน link ที่เว็บคุณได้จากเว็บอื่น โดยเฉพาะเว็บที่มี trustrank สูงหรือเว็บที่ google เรียกว่า seed sites
  65. โครงสร้างเว็บไซต์ ช่วย google จัดการกับบทความในเว็บคุณได้เป็นอย่างดี
  66. การอัปเดตเว็บบ่อย ๆ โดยเฉพาะถ้าเป็นเนื้อหาที่ไม่ซ้ำใคร
  67. จำนวนหน้าเว็บ เว็บที่มีจำนวนหน้าเยอะ ทำให้ google มองว่าเป็นเว็บคุณภาพ
  68. การมีไฟล์ sitemap ไฟล์นี้ช่วยให้ search engines รู้จักเว็บไซต์คุณดีขึ้น
  69. site uptime การที่เว็บ down นั้นส่งผลเสียต่อการจัดอันดับเว็บคุณ
  70. ที่อยู่ของเซิฟเวอร์ : ที่อยู่ของเซิฟเวอร์อาจจะมีผลทำให้เว็บของคุณมีอันดับต่างกันไปในแต่ละประเทศได้ โดยเฉพาะเมื่อเป็นการค้นหาแบบเจาะจงพื้นที่
  71. SSL Certificate (สำหรับเว็บอีคอมเมิร์ซ) กูเกิ้ลยืนยันว่าพวกเขาทำการเก็บข้อมูล SSL certificate ด้วย ดังนั้นนี่จึงเป็นเหตุผลนึงว่า google อาจจะจัดอันดับเว็บอีคอมเมิร์ซที่มี SSL certificates สูงกว่าเว็บอื่น ๆ
  72. เงื่อนไขการให้บริการและหน้าส่วนตัว สองหน้านี้จะช่วยบอก google ว่าเว็บไซต์นี้เป็นเว็บที่มีความน่าเชื่อถือในโลกออนไลน์
  73. เนื้อหาที่ซ้ำกันบนเว็บ: หน้าที่ซ้ำซ้อนและ meta information ที่เหมือนกันทุกหน้าในเว็บอาจจะทำให้เว็บไซต์ของคุณอันดับต่ำลง
  74. เมนูแบบ Breadcrumb เป็นเมนูที่ช่วยให้ผู้เยี่ยมชม รวมไปถึง search engines รู้ว่าตอนนี้หน้าที่พวกเขาอยู่นั้นอยู่ตรงส่วนไหนของเว็บ ซึ่งบางเว็บไซต์อ้างว่ามันช่วยในเรื่องการจัดอันดับด้วย
  75. การออกแบบให้รองรับอุปกรณ์มือถือ การออกแบบเว็บไซต์ให้รองรับอุปกรณ์มือถือต่าง ๆ (responsive website) จะช่วยให้ติดอันดับที่ดีในการค้นหาโดยใช้อุปกรณ์มือถือ
  76. Youtube แน่นอนว่าวีดีโอเว็บ youtube สามารถทำอันดับใน google ได้ดี เหตุผลง่าย ๆ ก็แค่เจ้าของเดียวกัน
  77. เว็บไซต์ที่ยากต่อการใช้งาน หรือดูหน้าเว็บ จะทำให้อันดับแย่ลงเนื่องจากผู้เยี่ยมชมใช้เวลาบนเว็บไซต์น้อยกว่าเว็บทั่วไป รวมดูจำนวนหน้าที่ดูน้อยกว่า การกลับเข้ามาดูอีกครั้งที่ต่ำ
  78. การใช้ google analytics และ google webmaster tools หลายคนมีความเชื่อว่าถ้ามีการติดตั้งสองโปรแกรมนี้บนเว็บจะช่วยเรื่องการเก็บข้อมูล และส่งผลโดยตรงต่อการจัดอันดับเนื่องจากได้ให้ข้อมูลของเว็บคุณตามที่ google ต้องการ
  79. คำวิจารณ์จากผู้เยี่ยมชม/ชื่อเสียงของเว็บไซต์ คำวิจารณ์บนเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียงต่าง ๆ จะส่งผลต่อการจัดอันดับ ซึ่งเราได้เห็นความพยายามจะใช้สิ่งนี้เข้ามาร่วมจัดอันดับหลายครั้ง เพื่อให้ผู้ใช้สามารถให้คะแนนเว็บเพื่อลดปัญหาการสร้าง link ที่เน้นเรื่อง seo มากกว่าเป็น link ตามธรรมชาติ
  80. ลิงก์จากเว็บที่มีอายุเก่าแก่ให้ผลดีมากกว่าลิงก์จากเว็บใหม่ ๆ
  81. จำนวนลิงก์ที่ลิงก์ไปที่หน้าหลักของเว็บ เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการจัดอันดับของ google
  82. จำนวนของลิงก์ที่ได้จากเว็บที่มี IP class C แตกต่างกัน ยิ่งหลากหลายเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นผลดีกับเว็บคุณ
  83. จำนวนลิงก์จากหน้าต่าง ๆ แม้ว่าจะเป็นหลาย ๆ หน้าในเว็บเดียวกัน แต่จำนวนที่ลิงก์มาก็ส่งผลต่อการจัดอันดับ
  84. Alt Tag สำหรับ ลิงก์รูปภาพ อย่าลืมใส่ให้กับรูปภาพในเว็บคุณ
  85. ลิงก์จากเว็บ .edu หรือ .gov แม้ว่า Matt Cutts เองจะบอกว่า ลิงก์จากเว็บพวกนี้ไม่ได้สำคัญกว่าลิงก์จากเว็บทั่ว ๆ ไป แต่หลายคนไม่เชื่อ และมั่นใจว่าการได้ลิงก์จากเว็บ .edu และ .gov ส่งผลดีกว่าลิงก์จากเว็บทั่วไปแน่ ๆ
  86. pagerank ของหน้าที่ทำลิงก์มาหาเว็บคุณ ยิ่งสูงยิ่งดี
  87. ค่า authority ของเว็บที่ทำลิงก์มาหาเว็บคุณ เช่นการได้ลิงก์จากหน้าเว็บ pr2 เหมือนกัน แต่หน้าหลักเว็บแรก pr3 ในขณะที่เว็บที่สองหน้าหลัก pr8 การได้ลิงก์จากเว็บที่สองย่อมได้ผลดีกว่า
  88. ลิงก์จากเว็บคู่แข่ง ลิงก์จากหน้าเว็บที่อยู่ในหน้าผลการจัดอันดับในคำเดียวกัน ย่อมส่งผลดีกับเว็บคุณในคำนั้น ๆ
  89. การแชร์ในโซเชียลเน็ตเวิร์ค ยิ่งจำนวนมากยิ่งส่งผลกับหน้านั้น ๆ
  90. link จากเว็บไซต์ที่ไม่พึงประสงค์ เว็บต้องห้ามต่าง ๆ จะส่งผลเสียกับเว็บไซต์คุณ
  91. การเขียนจากบุคคลภายนอก ลิงก์ที่ได้นั้นส่วนใหญ่จะได้ในส่วนของผู้เขียนข้อความนั้น ซึ่งถือว่ามีค่าน้อยกว่าลิงก์ในบทความ
  92. ลิงก์ไปที่หน้าแรกของเว็บของหน้าใน การมีลิงก์ไปที่หน้าหลักบนหน้ารอง ๆ ของเว็บจะช่วยส่งผลต่อการจัดอันดับ
  93. Nofollow links หนึ่งในหัวข้อที่ถูกพูดถึงบ่อยหัวข้อหนึ่งเมื่อพูดถึง SEO ซึ่ง google เองก็ได้บอกอย่างง่าย ๆ ว่า โดยทั่วไปแล้ว เราไม่ให้ความสนใจกับ nofollow link ซึ่งคำว่า “โดยทั่วไป” คือในกรณีปกติ ซึ่งหมายถึงมีกรณีที่นอกเหนือจากปกติและ google สนใจ ดังนั้นการได้ nofollow link ก็ดีกว่าไม่ได้เลย
  94. ความหลากหลายของลิงก์ การมีลิงก์ที่ไม่เป็นธรรมชาติจำนวนมากนั้น สามารถดูได้ง่าย ๆ เช่น ลิงก์ส่วนใหญ่มาจากแหล่งคล้าย ๆ กัน เช่น ลิงก์จากประวัติส่วนตัวในฟอรั่มหรือเว็บบอร์ด ลิงก์จากการเขียนความเห็นในบล็อก ซึ่งเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการแสปม แต่ในอีกนัยนึงการได้ลิงก์ที่หลากหลายก็เป็นสัญญาณว่าเป็นลิงก์ที่เป็นคุณภาพ
  95. ลิงก์ผู้สนับสนุนหรือลิงก์จากคำที่มีความหมายคล้าย ๆ กัน จะลดค่าของลิงก์นั้น
  96. ลิงก์ในเนื้อหาบทความ ส่งผลดีมากกว่า ลิงก์ที่อยู่บนหน้าว่าง ๆ หรือลิงก์ที่เจอในส่วนอื่นของหน้า
  97. การมี redirect 301 มาที่หน้าที่มากเกินไป อาจส่งผลเสียกับเว็บคุณ
  98. anchor text link เป็นสิ่งที่ช่วยให้ google รู้ว่า จะจัดการอันดับให้เว็บด้วยคำว่าอะไร แต่หลัง ๆ ความสำคัญลดลงมากเนื่องจากมีการ spam anchor text link
  99. การทำ anchor text link ให้กับลิงก์ภายในไปยังหน้าเว็บที่เกี่ยวกับคำนั้น ช่วยส่งผลต่อการจัดอันดับ แม้ว่าอาจไม่เหมือนการได้ลิงก์จากเว็บภายนอก
  100. หัวข้อลิงก์ ข้อความที่ปรากฎขึ้นเมื่อคุณลากเม้าส์ไปเหนือลิงก์นั้น เป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการจัดอันดับ
  101. การได้ลิงก์พวกโดเมน ดอทต่าง ๆ ที่เป็นชื่อประเทศ เช่น .th , .co.uk, .de จะช่วยให้เว็บของคุณทำอันดับได้ดีในประเทศนั้น ๆ
  102. ลิงก์ที่อยู่ในบทความ: ลิงก์ที่อยู่ในส่วนของบทความจะมีน้ำหนักมากกว่า ลิงก์ที่อยู่ตอนท้ายของบทความ
  103. ที่อยู่ของลิงก์ในหน้า นั้นเป็นจุดสำคัญอย่างหนึ่ง โดยทั่วไปแล้วลิงก์ในบทความของหน้านั้นจะมีพลังมากกว่าลิงก์ที่ด้านข้างหรือด้านล่างของเว็บ
  104. การได้ลิงก์จากเว็บที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกัน ยิ่งเป็นเว็บที่เฉพาะเจาะจง ยิ่งได้พลังจากเว็บเหล่านั้นมากกว่าได้ลิงกืจากเว็บที่ไม่เกี่ยวข้องกัน
  105. ระดับความเกี่ยวข้องของหน้า hilltop algorithm บอกว่าลิงก์จากหน้าที่ใกล้เคียงกับบทความหน้าจะมีพลังมากกว่าได้ลิงก์จากหน้าที่ไม่เกี่ยวข้อง
  106. ข้อความรอบ ๆ ลิงก์ google อาจใช้ข้อความรอบ ๆ ลิงก์นั้นเพื่อตัดสินว่าลิงก์นั้นเป็นอย่างไร เพราะข้อความการเป็นคำแนะนำเว็บคุณ หรือเป็นการวิจารณ์เว็บคุณในแง่ร้าย ลิงก์ที่มีข้อความรอบ ๆ เป็นข้อความที่ดีย่อมส่งผลดีมากกว่า
  107. คีย์เวิร์ดในหัวข้อ google ชอบลิงก์ที่ anchor text เป็นคำเดียวกับคีย์เวิร์ดในหัวข้อเป็นพิเศษ
  108. Link velocity การที่เว็บเราได้ backlink เพิ่มหรือลด เช่นเว็บคุณได้ backlink อยู่ 1,000 ลิงก์ เมื่อเวลาผ่านไปเว็บคุณได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เป็น 1,500 ลิงก์ ย่อมหมายถึงเว็บคุณได้รับความนิยม การมี positive link velocity ย่อมเป็นผลดีกับเว็บของคุณ
  109. negative link velocity ตรงกันข้ามกับ positive link velocity การที่เว็บของคุณมีจำนวน backlink น้อยลงเมื่อเวลาผ่านไป หมายถึงการเสื่อมความนิยมของเว็บของคุณ
  110. ลิงก์จากหน้าเว็บท่า การได้ลิงก์จากหน้าเว็บที่ google มองว่าเป็นเว็บข้อมูลชั้นดี หรือหน้าเว็บท่า ในหัวข้อเฉพาะจะได้รับการจัดอันดับที่ดีเป็นพิเศษ
  111. ลิงก์จากเว็บ Authority : ลิงก์จาก “เว็บ authority” จะช่วยเพิ่มพลังให้เว็บคุณมากกว่าเว็บเล็ก ๆ ทั่วไป
  112. การได้ลิงก์จากแหล่งอ้างอิงใน Wikipedia : แม้ว่าลิงก์เหล่านั้นจะเป็น nofollow แต่หลายคนก็คิดว่าการได้ลิงก์จาก Wikipedia จะช่วยเพิ่ม trust และ authority ให้กับเว็บคุณในการจัดอันดับของ search engines.
  113. คำที่ปรากฎรอบ ๆ: คำที่ปรากฎรอบ ๆ backlinks ของคุณจะช่วยให้ Google รู้ว่าหน้าเว็บคุณเกี่ยวกับอะไร
  114. อายุ Backlink : สอดคล้องกับสิทธิบัตรของ Google ลิงก์ที่เก่าแก่กว่าจะให้พลังมากกว่าลิงก์ใหม่ ๆ
  115. ลิงก์จากเว็บจริง ๆ เทียบกับ Splogs : เนื่องจากการมีบล็อกเน็ตเวิร์คเพิ่มขึ้นจำนวนมาก Google จึงให้น้ำหนักมากกว่าจากลิงก์ที่มาจากเว็บจริง ๆ จากบล็อกปลอม ๆ
  116. ลิงก์จากประวัติส่วนตัวที่เป็นธรรมชาติ: เว็บที่มีลิงก์ประวัติส่วนตัวเป็น “ธรรมชาติ” จะได้อันดับที่ดีและมั่นคงกว่าในการอัปเดต
  117. การแลกเปลี่ยนลิงก์: Google ห้ามทำการแลกเปลี่ยนลิงก์มากเกินไป ซึ่งจะผลเสียต่ออันดับของเว็บไซต์คุณ
  118. ลิงก์เนื้อหาที่ผู้ใช้สร้าง: Google สามารถแยกได้ว่าลิงก์มาจากผู้ใช้หรือเจ้าของสร้าง ตัวอย่างเช่น google รู้ว่าลิงก์ที่มาจากบล็อกทางการของ WordPress.com ที่ en.blog.wordpress.com นั้นจะแตกต่างจากลิงก์จากบล็อกชื่ออื่น ๆ ของ wordpress.com (ตัวอย่างเช่น ******.wordpress.com)
  119. ลิงก์จากหน้า 301: ลิงก์จากหน้า 301 redirects อาจจะเสียพลังไปบ้างเมื่อเทียบกับลิงก์ตรง ๆ อย่างไรก็ดี Matt Cutts บอกว่าลิงก์ 301 นั้นให้ผลคล้ายกับลิงก์ตรง ๆ
  120. Schema.org Microformats: หน้าที่รองรับรูปแบบ microformats อาจได้อันดับดีกว่าหน้าที่ไม่รองรับมัน
  121. การติด DMOZ: หลายคนเชื่อว่า Google ให้เครดิตกับเว็บที่ติดใน DMOZ ว่าเป็นเว็บที่มีคุณภาพ
  122. การติดในไดเรกทอรีของ Yahoo!: google น่าจะมี algorithm ที่ให้ความสำคัญกับ Yahoo! Directory ดูจากการเป็นเว็บไดเรกทอรีมาอย่างยาวนาน ไม่แปลกที่เว็บที่ติดในนี้จะได้อันดับที่ดี
  123. จำนวนของลิงก์ออกในหน้า: PageRank นั้นมีข้อจำกัด ดังนั้นลิงก์บนหน้าที่มีลิงก์ออกเป็นร้อย ๆ ลิงก์ย่อมส่งพลังของ pagerank ต่อไปได้น้อยกว่าหน้าเว็บที่มีลิงก์ออกน้อยกว่า
  124. ลิงก์ประวัติส่วนตัวฟอรั่ม: เพราะว่ามีการเพิ่มจำนวนสแปมค่อนข้างมาก Google จึงอาจจะลดความสำคัญของลิงก์จากหน้าประวัติส่วนตัวในฟอรั่มลง
  125. จำนวนคำของลิงก์เนื้อหา: ลิงก์จากบทความหนึ่งพันคำย่อมให้ผลดีกว่าลิงก์จากหน้าบทความที่มีเพียง ไม่กี่สิบคำ
  126. คุณภาพของลิงก์เนื้อหา: ลิงก์จากหน้าบทความแย่ ๆ อย่างบทความที่อ่านไม่รู้เรื่อง จะไม่ส่งพลังให้มากเหมือนกับหน้าบทความที่มีการเขียนเรียบเรียงอย่างดี
  127. ลิงก์ด้านข้างเว็บไซต์: Matt Cutts ยืนยันแล้วว่าลิงก์ด้านข้างเว็บไซต์ที่อยู่ทุกหน้าของเว็บนั้นจะถูก ”นับรวม” เป็นเพียงแค่ลิงก์เดียว
  128. อัตราการคลิกสำหรับ Keyword ในหน้าการค้นหา: หน้าที่ได้คลิกมากกว่าจะได้อันดับที่ดีขึ้นใน keyword นั้น
  129. อัตราการคลิกสำหรับทุก Keywords: หน้าหรือเว็บไซต์ที่มีอัตราการกดคลิกสูงสำหรับทุก keywords จะถูกจัดอันดับให้ดีขึ้นโดยใช้หลักเกณฑ์ว่ามีคนสนใจมาก ก็น่าจะเป็นหน้าเว็บที่น่าสนใจ
  130. ระยะเวลาการอยู่ในหน้าเว็บ: หลายคนเชื่อ ในขณะที่อีกหลายคนไม่เชื่อว่าระยะเวลาที่ผู้เยี่ยมชมอยู่ในหน้าเว็บจะส่งผลกับ SEO แต่มันอาจเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ google ใช้ในการจัดอันดับโดยใช้ผู้ใช้ของตัวเอง เป็นตัววัดคุณภาพของหน้าเว็บนั้น ๆ เพราะถ้าหน้าเว็บไม่ดี คนจะรีบกดออกอย่างรวดเร็ว
  131. ทราฟฟิกแบบตรง: มีการยืนยันแล้วว่า Google ใช้ข้อมูลจาก Google Chrome เพื่อกำหนดว่ามีหรือไม่มีผู้คนเยี่ยมชมเว็บไซต์ (และเยี่ยมชมบ่อยแค่ไหน) เว็บไซต์ที่มีการเปิดเข้าเว็บโดยตรงจะถูกมองว่าเป็นเว็บคุณภาพดีกว่าเว็บที่ถูกเปิดด้วยวิธีแบบอื่น
  132. ทราฟฟิกซ้ำ: google มองว่าผู้เยี่ยมชมเว็บนั้น ได้กลับมาชมเว็บอีกหรือไม่ เว็บไซต์ที่มีผู้เยี่ยมชมเดิม ๆ เข้ามาซ้ำจะมองว่าเป็นเว็บคุณภาพดี และได้รับการจัดอันดับที่ดี
  133. เว็บที่ถูกปิดกั้น: Google ไม่ใช่สิ่งนี้แล้วใน Chrome อย่างไรก็ตาม Panda algorithm ใช้คำสั่งนี้ในการตัดสินว่าเป็นเว็บที่มีคุณภาพหรือไม่
  134. Chrome Bookmarks: bookmark ใน Chrome อาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ google ใช้มาช่วยวัดคุณภาพของเว็บ
  135. ข้อมูล Google Toolbar: มีรายงานว่า Google ใช้ข้อมูลทูลบาร์เป็นตัววัดคุณภาพเว็บด้วย อย่างไรก็ตาม จากที่เราเคยรู้มาว่า google เก็บเวลาในการโหลดหน้าเว็บและเว็บนั้นติด แต่ตอนนี้ก็ได้รู้เพิ่มว่า google เก็บข้อมูลของเว็บเพิ่มจาก toolbar ของตัวเอง
  136. จำนวนความคิดเห็น: หน้าที่มีความเห็นจำนวนมาอาจจะบ่งบอกถึงการตอบสนองของผู้ใช้และคุณภาพของเว็บ
  137. Dwell Time: Google ให้ความสนใจอย่างมากกับ “dwell time”: ผู้คนใช้เวลานานเท่าไหร่บนเว็บไซต์คุณเมื่อมาจากหน้าค้นหาของ google บางครั้งสิ่งนี้ก็ถูกเอาไปอ้างอิงถึงเปรียบเทียบ “long clicks” กับ “short clicks”. ถ้าผู้คนใช้เวลาอยู่บนเว็บของคุณนาน ก็หมายถึงเว็บคุณเป็นเว็บคุณภาพ
  138. Query Deserves Freshness: Google ให้อันดับที่ดีสำหรับหน้าใหม่ ๆ เนื้อหาใหม่ ๆ ในผลการค้นหา สอดคล้องกับ caffeine algorithm แต่หลัง ๆ ก็โดนลดความสำคัญลง
  139. Query Deserves Diversity: Google อาจจะเพิ่มความหลากหลายเข้าไปในผลลัพท์การค้นหาสำหรับคีย์เวิร์ดทั่ว ๆ ไปอย่างเช่นคำว่า “Ted”, “WWF” หรือ “ruby”
  140. ประวัติการใช้เบราว์เซอร์ของผู้ใช้: เว็บไซต์ที่คุมเยี่ยมชมบ่อย ๆ ในขณะที่คุณเข้าสู่ระบบของ google จะได้รับการจัดอันดับที่ดีสำหรับการค้นหาของคุณ
  141. ประวัติการค้นหาของผู้ใช้: ผลลัพท์การค้นหาก่อนหน้าจะส่งผลต่อการค้นหาล่าสุด ตัวอย่างเช่นถ้าคุณค้นหา “รีวิว” แล้วค้นหาคำว่า “มือถือ” google จะจัดอันดับเว็บที่มีคำว่า “รีวิว มือถือ” สูงขึ้นในผลการค้นหา
  142. Geo Targeting: Google ให้ความสำคัญกับเว็บไซต์ที่มีไอพีเซิร์ฟเวอร์ในถิ่นที่อยู่แถบนั้นและดอทต่าง ๆ ที่มีประเทศลงท้าย
  143. การค้นหาแบบปลอดภัย: การค้นหาแบบปลอดภัยจะปิดกั้นไม่ให้คำหยาบและเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมกับเยาวชนมาแสดง
  144. Google+ Circles: Google แสดงอันดับที่สูงสำหรับผู้เขียนและเว็บไซต์ที่เราได้เพิ่มลงในแวดวง Google Plus ของเรา
  145. การร้องเรียน DMCA: Google จะลดอันดับของหน้าเว็บที่ถูกร้องเรียนเกี่ยวกับ DMCA
  146. ความหลากหลายของโดเมน: ดูเหมือนว่าจะมี algorithm ที่ชื่อว่า Bigfoot Update ที่จะทำการเพิ่มหน้าโดเมนต่าง ๆ เน้นที่ความหลากหลายในหน้าการค้นหามากขึ้นทำให้ หน้ารอง ๆ ของเว็บอันดับต้น ๆ ได้อันดับดีกว่า หน้าหลักของเว็บรอง ๆ
  147. การค้นหาคีย์เวิร์ดสินค้า: บางครั้ง Google จะแสดงผลลัพท์สำหรับคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวกับสินค้าหรือการขายของในรูแบบที่แตกต่างออกไป
  148. การค้นหาท้องถิ่น: Google มักจะใส่ผลการค้นหาท้องถิ่นของ Google+ Local results ลงในหน้าผลลัพท์การค้นหาทั่ว ๆ ไป
  149. Google News Box: การค้นหาบางคีย์เวิร์ด google อาจจะแสดงผลลัพท์ข่าวของ google ที่เกี่ยวกับคีย์เวิร์ดนั้นในบางครั้ง
  150. ความให้ความสำคัญกับยี่ห้อดัง ๆ: Algorithm ที่ชื่อว่า Vince ที่ถูกเพิ่มขึ้นมาในปี 2009 ไม่ได้ทำให้อันดับเปลี่ยนแปลงมาก แต่มันให้ความสำคัญกับยี่ห้อดัง ๆ โดยทำให้หน้าเว็บยี่ห้อดัง ๆ ติดอันดับในคำที่ niche มากขึ้น
  151. ผลลัพท์สินค้า : บางครั้ง google แสดง ผลลัพท์สินค้า ( Google Shopping results) ในการค้นหา
  152. ผลการค้นหาแบบรูปภาพ: บางครั้ง Google แทรกผลการค้นหาของเราด้วยผลลัพท์การค้นหารูป ที่ถูกดูมากที่สุดบนการค้นหาแบบรูปภาพ
  153. การค้นหาแบบ Easter Egg: Google มีการค้นแบบ Easter Egg อยู่สิบกว่าอย่าง ยกตัวอย่างเช่นเมื่อคุณค้นหาคำว่า ”Atari Breakout” ในการค้นหาแบบรูป ภาพ ผลลัพท์การค้นหาจะกลายเป็นการเริ่มเล่นเกมส์นี้
    การค้นหาแบบรูปภาพ หาคำว่า “Atari Breakout”
    การค้นหาแบบเว็บ “Zerg rush”, “do a barrel roll”, “blink html”
  154. ผลการค้นหาแสดงเว็บไซต์เดียวสำหรับยี่ห้อ : คีย์เวิร์ดที่เป็น ชื่อเว็บหรือยี่ห้อจะทำให้เกิดผลการค้นหาจากเว็บเดียวกันหลาย ๆ หน้า
  155. จำนวนครั้งที่ทวีต: คล้ายกันกับลิงก์ การทวีตหน้าจะช่วยเพิ่มอันดับใน google
  156. บัญชีของผู้ใช้ Twitter ที่มีชื่อเสียง: เหมือนกันการทวีตจากหน้าผู้ใช้ที่สร้างมานานแล้ว หรือหน้าของผู้ใช้ที่มีชื่อเสียงอย่างดารา นักร้องดัง ๆ ที่มีผู้ติดตามจำนวนมากจะมีอิทธิพลสูงกว่าทวีตจากหน้าของผู้ใช้ใหม่
  157. จำนวนการไลค์ในเฟซบุค : แม้ว่า Google จะไม่สามารถเห็นบัญชี Facebook แต่ละบัญชี แต่ google ก็คำนึงถึงจำนวนไลค์ใน facebook มาช่วยในการจัดอันดับด้วย แม้ว่าจะไม่มีผลมาก
  158. การแบ่งปันใน Facebook: การแชร์โพสท์ใน Facebook — เพราะว่ามันคล้ายคลึงกับการสร้าง backlink ดังนั้นการแชร์ใน facebook นั้นได้ผลดีกว่าการมีไลค์ใน facebook
  159. หน้าผู้ใช้ที่มีชื่อเสียง: เหมือนกับ Twitter การแชร์ใน Facebook shares และการไลค์จากหน้าใน facebook ที่ได้รับความนิยมมาก ย่อมให้ผลดีกว่าหน้าทั่ว ๆ ไป
  160. Pinterest Pins: Pinterest เป็นโซเชียลมีเดียที่ได้รับความนิยมอย่างมาก และมีข้อมูลสาธารณะเป็นจำนวนมาก จึงดูเหมือนว่า google จะให้ความสำคัญกับ Pinterest Pins เป็นโซเชียลมีเดียที่สำคัญในการจัดอันดับ
  161. การโหวตบนเรื่องที่แบ่งปันบนเว็บโซเชียล: ดูเหมือนว่า Google ใช้การแบ่งปันบนเว็บอย่าง Reddit, Stumbleupon และ Digg เป็นตัวชี้วัดหนึ่งเรื่องความนิยมทางสังคมออนไลน์
  162. จำนวนของ Google+1′s: แม้ว่า Matt Cutts จะบอกว่า Google+ ไม่มีผลโดยตรงกับการจัดอันดับ มันก็ยากที่จะเชื่อถือ เพราะว่า google ให้ความสำคัญกับเว็บโซเชียลอื่น แล้วทำไม google จะไม่ให้ความสำคัญกับเว็บโซเชียลที่ตัวเองเป็นเจ้าของอย่าง Google Plus
  163. บัญชีผู้ใช้ Google+ ที่มีชื่อ: ดูเหมือนว่าการกด +1 ใน google plus จากบัญชีผู้ใช้ที่มีชื่อจะส่งผลดีมากกว่าการกดของบัญชีที่มีผู้ติดตามน้อยกว่า
  164. การยืนยันความเป็นผู้เขียนบน google plus (Google+ Authorship): ในเดือนกุมภาพันธ์ 2013 อีริค ชมิดท์ ซีอีโอของ Google ได้อ้างว่า:
    “ภายในผลลัพท์การค้นหา ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประวัติส่วนตัวที่ทำการยืนยันออนไลน์แล้วจะได้รับอันดับที่ดีกว่าบทความทั่ว ๆ ไปที่ยังไม่มีการยืนยันตัวตน การยืนยันผู้เขียนจึงเป็นการบอกถึงคุณภาพของเว็บ
  165. การชี้วัดการเกี่ยวข้องทางสังคม: Google อาจจะใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันจากบัญชีผู้ใช้ที่ทำการแบ่งปันบทความและข้อความรอบ ๆ ลิงก์
  166. การได้รับการวัดว่าเป็นเว็บที่ดีจากโซเชียลต่าง ๆ จะช่วยเพิ่ม authority ให้กับทั้งเว็บ ซึ่งจะช่วยอันดับในหน้าเว็บทั้งหมดของเว็บนั้น
  167. anchor text ลิงก์ที่เป็นชื่อยี่ห้อ: นั้นสั้น ๆ เรียบง่าย แต่ให้ผลดีอย่างยิ่ง
  168. การค้นหาชื่อเฉพาะ (ยี่ห้อ หรือชื่อเว็บไซต์) เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าเมื่อผู้คนค้นหายี่ห้อ หรือค้นหาชื่อเว็บคุณบน google (ตัวอย่างเช่น “WordThai” + “keyword”) Google จะให้ความสำคัญกับเว็บของยี่ห้อนั้นหรือเว็บที่เป็นเจ้าของชื่อเว็บนั้นเป็นพิเศษ
  169. เว็บไซต์ที่มีหน้าเฟซบุ๊คและจำนวนไลค์ที่มาก จะได้รับการจัดอันดับที่ดี
  170. เว็บไซต์ที่โปรไฟล์ Twitter Profile ที่มีผู้ติดตามจำนวนมากแสดงว่าเป็นเว็บที่ได้รับความนิยม
  171. หน้า Linkedin อย่างเป็นทางการของบริษัท บ่งบอกถึงความมีตัวตนจริง ๆ ของธุรกิจนั้น ๆ สร้างความน่าเชื่อถือให้เว็บ
  172. รายชื่อลูกจ้างบนหน้าเว็บ Linkedin: หน้าประวัติส่วนตัวของผู้ใช้ที่ยืนยันทำงานอยู่บริษัทนั้น ช่วยทำให้หน้าเว็บบริษัทมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
  173. การเคลื่อนไหวของบัญชีโซเชียลมีเดีย: มันคงดูเป็นเรื่องแปลกที่บัญชีในเว็บโซเชียลที่มีคนติดตามมากกว่าหนึ่งหมื่นคน แต่มีเพียงสองโพสท์ ดังนั้นเว็บที่มีผู้ติดตามมากและมีความสัมพันธ์กับผู้ติดตามมาก ๆ เช่นการโพสท์เรื่องจะช่วยเรื่องอันดับได้ดีกว่า
  174. การเอ่ยถึงชื่อยี่ห้อบนเว็บไซต์ข่าว: เว็บยี่ห้อดัง ๆ มักจะถูกเอ่ยถึงในเว็บข่าวของ google อยู่เรื่อย ๆ ในความจริงแล้วยี่ห้อดัง ๆ บางยี่ห้อ มี feed ข่าว google ของตัวเองบนหน้าแรกด้วยซ้ำไป
  175. Co-Citations: Brands get mentioned without getting linked to. Google likely looks at non-hyperlinked brand mentions as a brand signal.
  176. จำนวนของสมาชิกรับข่าว RSS: การที่ Google เป็นเจ้าของบริการ RSS ที่มีชื่อเสียงอย่าง Feedburner จึงดูเหมือนว่า google จะให้ความสำคัญกับจำนวนสมาชิกรับข่าว RSS ว่าเว็บนั้นได้รับความนิยม
  177. ธุรกิจที่ลงที่อยู่ในรายชื่อ Google+ ท้องถิ่น: ธุรกิจที่แท้จริงต้องมีที่อยู่ออฟฟิตแน่นอน มันเป็นไปได้ที่ google จะให้น้ำหนักกับธุรกิจที่ลงที่อยู่ในรายชื่อ Google plus ท้องถิ่น
  178. เว็บไซต์เป็นWebsite is Tax Paying Business: รายงานของ SEOMoz ว่า Google อาจจะดูว่าเว็บนั้นเป็นธุรกิจที่มีการจ่ายภาษีหรือไม่ ซึ่งเป็นการยืนยันตัวตนที่ดี
  179. การลงโทษของแพนด้า เว็บไซต์ที่มีบทความคุณภาพต่ำ (อย่างเช่นบทความที่สร้างขึ้นมั่ว ๆ) จะถูกเมินหลังจากได้รับการลงโทษตาม algorithm Panda
  180. การลิงก์ไปยังเว็บแย่ ๆ : การลิงก์ไปเว็บโป๊ การพนัน ผิดกฎหมายต่าง ๆ หรือเว็บขายยาหรือพวก payday load จะทำให้อันดับเว็บของคุณแย่ลง
  181. การรีไดเรค: การรีไดเรคแบบโกง ๆ เพื่อหวังผลนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้า google จับได้ ไม่ใช่แค่โดนลงโทษ แต่จะโดนแบนทันที
  182. หน้าต่างป็อบอัพ หรือโฆษณาบังหน้าเว็บ : คู่มือแนะนำเว็บไซต์ของ google บอกว่าหน้าต่างป็อปอัพและโฆษณาที่ขึ้นมาบังหน้าเว็บบ่งบอกว่าเว็บนั้นมีคุณภาพต่ำ
  183. เว็บที่ทำ SEO มากเกินไป: หน้าเว็บที่มีจำนวนคีย์เวิร์ดมากเกินไป การใส่คีย์เวิร์ดลงในส่วนหัวเยอะ ๆ หรือการใช้ คีย์เวิร์ดบ่อยครั้ง อาจะได้รับผลเสีย
  184. หน้าที่ทำ SEO มากเกินไป: เพนกวินนั้นทำงานต่างกับแพนด้า โดยที่มันจะวิเคราะห์เป็นมาก ไม่เหมือนกับแพนด้าที่วิเคราะห์เป็นเว็บ
  185. โฆษณามากเกินไป: Algorithm รูปแบบเว็บ จะลงโทษเว็บไซต์ที่มีโฆษณาจำนวนมาก และมีเนื้อหาอยู่น้อย
  186. การซ่อนลิงก์ Affiliate : การซ่อน affiliate links โดยเฉพาะการ cloaking จะทำให้ถูกลงโทษ
  187. เว็บ Affiliate เป็นที่รู้กันดีว่า google ไม่ชอบเว็บ affiliates และหลาย ๆ คนก็เชื่อว่าเว็บที่มีลิงก์ affiliates จะถูกจัดอันดับต่ำกว่าความเป็นจริง
  188. บทความที่สร้างขึ้นมั่ว ๆ : Google เกลียดบทความที่สร้างขึ้นมั่ว ๆ หรือใช้โปรแกรมสร้างขึ้น ถ้าพวกเขาสงสัยว่าเว็บของคุณผลิตบทความที่ไม่ได้เขียนเอง อาจจะถูกลงโทษหรือโดนแบน
  189. การตั้งใจทำ PageRank มากเกินไป: ไม่ว่าจะเป็นการใช้ nofollow สำหรับลิงก์ออกทั้งหมด หรือลิงก์ภายในส่วนใหญ่ อาจเป็นสัญญาณว่าคุณพยายามที่จะโกงระบบที่ google คิดค้นขึ้น
  190. ไอพีแอดเดรส ที่ถูกระบุว่าเป็นแสปม: ถ้าไอพีของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของคุณถูกระบุว่าเป็นสแปม มันจะส่งผลเสียกับเว็บทั้งหมดที่อยู่บนเซิร์ฟเวอร์นั้น
  191. การสแปม Meta Tag: การฝังคีย์เวิร์ดในส่วนของ meta tags ถ้า Google คิดว่าคุณใส่ keyword มากเกินไปที่ meta tag google อาจจะลงโทษเว็บไซต์ของคุณ
  192. การเพิ่มจำนวนอย่างมากของลิงก์บ่งบอกความไม่เป็นธรรมชาติ ซึ่ง google จะลงโทษเว็บไซต์ของคุณ
  193. บทลงโทษของเพนกวิน: เว็บไซต์ที่เพนกวินลงโทษจะแทบหาไม่เจอเลยในหน้าการค้นหา
  194. ลิงก์จากหน้าประวัติส่วนตัวที่มี % ว่าเป็นลิงก์ด้อยคุณภาพ: ลิงก์ส่วนใหญ่ที่คนทำ SEO ใช้กันอย่างเช่นลิงก์จากความคิดเห็นหรือประวัติส่วนตัว เป็นตัวบ่งชี้ว่าคุณพยายามโกงระบบอยู่
  195. การลิงก์ถึงเว็บที่เกี่ยวข้องกัน: การวิเคราะห์ที่ได้รับการเชื่อถือของเว็บไซต์ MicroSiteMasters.com บอกว่าเว็บที่มีลิงก์จำนวนมากจากเว็บที่ไม่เกี่ยวข้องกันจะถูกเพนกวินลงโทษ
  196. คำเตือนลิงก์ไม่เป็นธรรมชาติ: Google ส่งข้อความหลายพันคำเตือนใน Google Webmaster Tools ซึ่งถ้าไม่แก้ไขจะทำให้อันดับหล่นลง แม้ว่าจะไม่ยืนยัน 100%
  197. ลิงก์จาก IP Class C เดียวกัน: การได้ลิงก์จากหลาย ๆ เว็บไซต์ที่อยู่บนไอพีเดียวกัน เป็นตัวบอกว่าคุณกำลังสร้างลิงก์จากเน็ตเวิร์คของตัวเอง
  198. ลิงก์ anchor text “ที่เป็นพิษ”: การมีลิงก์ anchor text “ที่เป็นพิษ” (ตัวอย่างเช่นคีย์เวิร์ดกลุ่ม pharmacy) จะบอกว่าเว็บคุณเป็นเว็บสแปม ถูกสแปม หรือโดนแฮก ซึ่ง google จะทำการลดอันดับเว็บของคุณ
  199. การลงโทษจากพนักงาน google เอง: การลงโทษส่วนใหญ่เกิดจาก algorithm ของ google แต่ถ้ามีการร้องเรียนและพนักงาน Google พบว่าทำความผิดจริง แม้ว่าจะไม่ขัดกับ algorithm ของ google พนักงาน google ก็จะทำการลงโทษเว็บนั้นโดยตรง
  200. การขายลิงก์: การขายลิงก์นั้นจะลด pagerank ของคุณและการส่งผลเสียกับการจัดอันดับเว็บไซต์ของคุณ
  201. Google Sandbox: เว็บไซต์ใหม่ ๆ ที่มีลิงก์เพิ่มขึ้นจำนวนมาก จะถูกเก็บไปไว้ใน Google Sandbox ซึ่งเว็บที่โดน google sandbox นั้น จะแทบไม่ปรากฎในหน้าการค้นหาของ google
  202. Google Dance: การที่อันดับใน google ไม่นิ่งหรือที่เรียกกันว่า Google Dance จะส่งผลให้อันดับเว็บในหน้าการค้นหานั้นขยับเปลี่ยนแปลงไปมาอยู่ตลอดในเวลาอันสั้น เป็นกระบวนการที่ google กำลังตัดสินใจเว็บไหนที่กำลังจะโกงระบบของ google อยู่
  203. Disavow Tool: การใช้ Disavow Tool บน google อาจจะช่วยลบการถูกลงโทษของเว็บที่ทำ SEO ที่แย่ ๆ ออกไปได้ แต่คุณต้องแก้ไขเว็บคุณให้ถูกต้องด้วย
  204. การส่งคำขอให้พิจารณาใน google: การส่งคำขอที่ได้รับการตอบรับจะช่วยลบการลงโทษออกไป

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทัวร์ฮ่องกง

Algorithm ของ Google

เทรนด์สีปี 2024